ประชาสัมพันธ์

บทปริทัศน์หนังสือเรื่อง "กุหลาบเปอร์เชียในแดนสยาม"

8 กันยายน 2566

The Persian Rose in the Land of Siam
กุหลาบเปอร์เชียในแดนสยาม
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติชัย  พินโน
Department of Oriental Languages, Faculty of Archaeology, Silpakorn University, Thailand.
Reviewere-mail:a.kittichai@gmail.com

กุหลาบ.png

กุสุมา รักษมณี.(2566). กุหลาบเปอร์เชียในแดนสยาม.
กรุงเทพฯ:มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.
Raksamani,Kusuma.(2023). The Persian Rose in the Land of Siam.Bangkok: Princess Maha Chakri SirindhornFoundation (PMSF).
.

“กุหลาบเปอร์เชียในแดนสยาม”เป็นผลงานวิชาการของศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. กุสุมา รักษมณี จัดพิมพ์โดยมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ฝ่าย MATICHON PREMIUM PRINT บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) เป็นผู้พิมพ์ออกแบบรูปเล่ม และจัดจำหน่ายหนังสือเรื่องนี้มีขนาด 16.3x 24 ซม.(16 หน้ายกจัมโบ้) หนา382 หน้ามีภาพสีประกอบตลอดทั้งเล่ม (รวม 24 ภาพ) ราคาเล่มละ 670 บาท  
.
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. กุสุมา รักษมณี ก่อนเกษียณอายุราชการมีตำแหน่งทางวิชาการเป็นศาสตราจารย์ ระดับ 11 สาขาวิชาภาษาตะวันออกภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบันเป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบแห่งราชบัณฑิตยสภา และเป็นผู้ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา สาขามนุษยศาสตร์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. กุสุมา รักษมณี มีความรู้ความเชี่ยวชาญหลายสาขาวิชาทั้งภาษาและวรรณคดีไทย ภาษาและวรรณคดีสันสกฤต วรรณคดีเปรียบเทียบ ตลอดจนอิสลามศึกษา มีผลงานทางวิชาการเป็นจำนวนมาก ทั้งที่เผยแพร่ในรูปแบบหนังสือ ตำรา งานวิจัย บทความทางวิชาการ และงานแปลวรรณคดีจากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาไทย ผลงานเรื่องสำคัญที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง เช่น การวิเคราะห์วรรณคดีไทยตามทฤษฎีวรรณคดีสันสกฤต, การวิจัยวรรณคดี,ศักดิ์ศรีและความอับอายในวรรณกรรมไทย,หนังสือรวมบทความชุด “สีสันวรรณคดี”(มี 5 เล่ม), หนังสือรวมบทความชุด “กุสุมาวรรณนา”(มี 6 เล่ม) ฯลฯ 
.
ในการเรียบเรียงหนังสือเรื่อง “กุหลาบเปอร์เชียในแดนสยาม” ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. กุสุมา รักษมณี กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการศึกษาค้นคว้าไว้ว่าเกิดจากความสนใจวรรณคดีเปอร์เชียตั้งแต่เมื่อครั้งศึกษากวีนิพนธ์เปอร์เชียเรื่องรุไบยาตของโอมาร์ คัยยาม ฉบับภาษาไทยเป็นวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาโท สาขาวิชาวรรณคดีไทย ที่คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อพ.ศ. 2513 และต่อมาได้ศึกษาสาขาวิชา Sanskrit and Indian Studies ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยโตรอนโตประเทศแคนาดาทำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างภาษา วรรณคดี และวัฒนธรรมสันสกฤตกับเปอร์เชียนำไปสู่ความสนใจสืบค้นที่มาของนิทานไทยที่ได้รับจากนิทานเปอร์เชีย 
.
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. กุสุมา รักษมณี ใช้เวลารวบรวมข้อมูลจากที่ต่างๆ กว่า40 ปี ขณะสืบค้นข้อมูลยังได้ความรู้เรื่องวัฒนธรรมเปอร์เชียโบราณด้วยในที่สุดจึงนำข้อมูลดังกล่าวมาศึกษา วิเคราะห์แล้วเรียบเรียงเป็นหนังสือเรื่อง“กุหลาบเปอร์เชียในแดนสยาม” ใช้เวลาเขียนทั้งสิ้น 4 ปีจึงเสร็จสมบูรณ์ในที่นี้ผู้เขียนใช้คำว่า “กุหลาบ” เป็นสัญลักษณ์แทนวัฒนธรรมเปอร์เชียซึ่งเปรียบเสมือน “กุหลาบไร้พรมแดน” ที่มางอกงามอยู่ในแผ่นดินไทย
.
หนังสือเรื่อง “กุหลาบเปอร์เชียในแดนสยาม” แบ่งเนื้อหาเป็น 4 บท แต่ละบทมีสาระสังเขป ดังนี้
.
บทที่ 1 กุหลาบจากเมืองเทศ:วัฒนธรรมเปอร์เชียที่เดินทางสู่สยาม
บทนี้มี2 หัวข้อใหญ่ได้แก่ 1) “รุ่งอรุณในแดนกุหลาบ” และ 2) “กุหลาบในนาวานคร” หัวข้อแรกกล่าวถึงภาษาและศิลปะเพื่อชี้ให้เห็นจุดก าเนิด ที่มาและภาพรวมของภาษาและศิลปะเปอร์เชียที่ส่งอิทธิพลมายังดินแดนไทยมีรายละเอียดว่าด้วยภาษาเปอร์เชียเก่าภาษาเปอร์เชียกลางภาษาเปอร์เชียใหม่และภาษาเปอร์เชีย/ อินเดียรวมทั้งศิลปะการก่อสร้าง ศิลปะการทอผ้าทอพรม และศิลปะการปรุงรสและปรุงสุคนธ์ส่วนหัวข้อที่ 2 กล่าวถึงภาพรวมของประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เชียกับไทยการรับวัฒนธรรมด้านภาษา วรรณคดีเครื่องแต่งกายอาหารและเครื่องใช้ต่างๆจากเปอร์เชีย
.
บทที่ 2เมื่อกุหลาบไร้พรมแดน: การรับและปรับแปลงวรรณคดีเปอร์เชีย
บทนี้มี 4 หัวข้อใหญ่ได้แก่ 1)“กุหลาบในอุทยานเปอร์เชีย: นิทานเปอร์เชียที่ชาวสยามได้รู้จัก” 2) “สิบสองเหลี่ยมที่ประกอบสร้างในแดนสยาม”3) “มาลัยกลีบกุหลาบรุไบยาต”และ 4) “เรื่องเล่าเพื่อโน้มน้าวให้เปลี่ยนใจ” เนื้อหากล่าวถึงวรรณคดีไทย 5เรื่องที่มีที่มาจากวรรณคดีเปอร์เชีย ได้แก่ นิทานสิบสองเหลี่ยม (นิทานอิหร่านราชธรรม),รุไบยาต, พันหนึ่งราตรี,พันหนึ่งทิวา และทศมนตรี


ผู้เขียนกล่าวถึงประวัติความเป็นมาและเนื้อหาของวรรณคดีเปอร์เชียซึ่งเป็นวรรณคดีต้นทางประวัติความเป็นมาและเนื้อหาของวรรณคดีไทยซึ่งเป็นวรรณคดีปลายทางยุคสมัยที่รับวรรณคดีเปอร์เชียมาเป็นวรรณคดีไทยวิธีการรับและการปรับแปลงวรรณคดีเปอร์เชียมาเป็นวรรณคดีไทยทั้งนี้มีบทวิเคราะห์วรรณคดีเปอร์เชียกับวรรณคดีไทยพร้อมตารางเปรียบเทียบและตัวอย่างจากวรรณคดีทั้งสองชาติ

.

บทที่ 3 แม้เรียกอย่างอื่นก็หอมรื่นเหมือนกัน:คาเปอร์เชียในภาษาไทย
บทนี้มี 3 หัวข้อใหญ่ได้แก่ 1) “แดงจรัสปัศตูกล ชาดย้อม”: เสื้อผ้าอาภรณ์2) “เสียงสรั่งทิ้งดิ่งหยั่งน ้าอึง”: ข้าวของเครื่องใช้ ผู้คนและ 3)  “สุหร่ายมาศโปรยปรายดังสายฝน”: การปรุงรสปรุงสุคนธ์เนื้อหากล่าวถึงค ายืมภาษาเปอร์เชียในภาษาไทย3 หมวดได้แก่ หมวดเสื้อผ้าเครื่องประดับ(มี 22 ค า)เช่น กั้นหยั่นกากีกุฏไตขาวม้าฯลฯ,หมวดเครื่องใช้และผู้คน(มี 12 ค า)เช่น กระซับ กะลาสี ขันทีอะไหล่ฯลฯและหมวดอาหารการกินและเครื่องหอม(มี 15 คำ)เช่น กระลำพัก กะหล่ำ กุหลาบ องุ่น ฯลฯ 

ผู้เขียนเริ่มต้นด้วยการอธิบายปัจจัยในการยืมภาษาและวิธีการยืมตามหลักการทางภาษาศาสตร์ จากนั้นอธิบายความหมายของค ายืมภาษาเปอร์เชียในภาษาไทยที่มาของค ายืมนั้นทั้งที่รับมาจากภาษาเปอร์เชียโดยตรงและที่รับผ่านภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาอินเดีย (มี ฮินดีคุชราตีปัญจาบีเป็นต้น) ภาษาโปรตุเกสภาษาจีนภาษามลายู ฯลฯผู้เขียนวิเคราะห์และอธิบายค ายืมแต่ละค าในเชิงประวัติโดยอ้างอิงจากพจนานุกรมภาษาไทยและพจนานุกรมภาษาต่างประเทศอื่นๆเอกสารประเภทบันทึกการเดินทางของชาวต่างชาติเอกสารทางประวัติศาสตร์ของไทยข้อมูลตัวบทวรรณคดีโบราณของไทยรวมทั้งข้อเขียนของนักวิชาการไทยและนักวิชาการต่างประเทศ ผลการศึกษาวิเคราะห์ท าให้ทราบที่มาของคำยืมนั้นๆได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งมีทั้งที่สอดคล้องกับคำตอบเดิมที่มีผู้ศึกษาไว้แล้ว โต้แย้งคำตอบเดิม และที่เป็นคำตอบใหม่

.

บทที่ 4 บทส่งท้าย : กุหลาบของวันวาน
ผู้เขียนสรุปภาพรวมให้เห็นอิทธิพลด้านภาษาและวรรณคดีเปอร์เชียที่มีต่อวรรณคดีไทยในด้านภาษา ผู้เขียนชี้ให้เห็นว่าการศึกษาค ายืมช่วยให้เห็นร่องรอยความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างไทยกับเปอร์เชีย “เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ทางสายเลือดของคนไทยซึ่งทางหนึ่งมาจากชาวเปอร์เชียที่มาตั้งรกรากอยู่ในแผ่นดินไทยและมีลูกหลานสืบสายเป็นคนไทยโดยสมบูรณ์” ในด้านวรรณคดี ผู้เขียนชี้แนะแนวทางการแปลวรรณกรรมว่าควรเป็นไปเพื่อ “แนะนำเรื่องต่างภาษาต่างวัฒนธรรมมาให้ผู้อ่านได้รู้จัก เพื่อให้วรรณกรรมเป็นงานศิลปะที่สร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน”และการศึกษาวรรณกรรมจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อเป็นการศึกษาเปรียบเทียบเพื่อ “ให้เข้าใจว่าสารในต้นฉบับเดิมเป็นอย่างไรควรตีความใหม่อย่างไรตลอดจนการเพิ่มเชิงอรรถอธิบายเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง”

นอกจากเนื้อหาทั้ง 4 บทข้างต้นแล้ว ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. กุสุมา รักษมณี ยังเรียบเรียง“ภาคผนวก” อีก 2 ภาคเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการถ่ายถอดเสียงภาษาเปอร์เชียและเพื่อให้ทราบยุคสมัยการปกครองของกษัตริย์เปอร์เชียได้แก่ “ภาคผนวก ก ตารางการถ่ายถอดอักษรเปอร์เชีย (Fārsī)เป็นอักษรไทยและโรมัน” และ“ภาคผนวก ข ราชวงศ์และกษัตริย์ที่อ้างถึงในหนังสือนี้”รวมทั้งมี “ดัชนี” อีก 3 กลุ่มเพื่อช่วยให้ผู้อ่านสืบค้นคำสำคัญที่ต้องการได้ง่ายยิ่งขึ้น ได้แก่ดัชนีชื่อบุคคลดัชนีชื่อสถานที่และดัชนีชื่ออื่นๆ

เนื้อหาในหนังสือเรื่อง“กุหลาบเปอร์เชียในแดนสยาม” แต่ละบทมีเชิงอรรถอ้างอิงเชิงอรรถอธิบายความ และเชิงอรรถโยง รวม930 รายการนอกจากนั้นยังมีรายการอ้างอิงท้ายเล่มอีก 335รายการ ทั้งจากเอกสารภาษาไทย (รวม 197 รายการ) และเอกสารภาษาต่างประเทศ (รวม 138 รายการ) ตลอดจนคำบอกเล่าและคำให้สัมภาษณ์ของผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ (รวม 9 คน) แสดงให้เห็นถึงความอุตสาหะอย่างยิ่งในการศึกษาค้นคว้าเพื่อเรียบเรียงเป็นหนังสือเรื่องนี้

กล่าวได้ว่า“กุหลาบเปอร์เชียในแดนสยาม”ของศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. กุสุมา รักษมณี เป็นหนังสือวิชาการที่มีการศึกษาค้นคว้าอย่างละเอียดใช้ข้อมูลที่หลากหลายผ่านการคิดวิเคราะห์และตีความอย่างลึกซึ้ง มีตัวอย่างและคำอธิบายที่ชัดเจนเป็นระบบช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจวัฒนธรรมเปอร์เชียที่ผสมผสานอยู่ในวิถีชีวิตของคนไทยได้เป็นอย่างดีผลงานเรื่องนี้จึงเป็นประโยชน์ยิ่งต่อวงวิชาการด้านภาษา วรรณคดี และวัฒนธรรมศึกษา

.

หมายเหตุ    ผู้สนใจหนังสือเรื่อง“กุหลาบเปอร์เชียในแดนสยาม” สามารถสั่งซื้อได้ที่มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาโทร. 0-2062-9905 (ในวันและเวลาราชการ), สำนักพิมพ์มติชน (ผู้จัดจำหน่าย)https://www.matichonbook.com/ และร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
 

ที่มา https://so08.tci-thaijo.org/index.php/artssu/article/view/2272/1682

 

กลับ